เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [8. อนุรุทธสังยุต]
1. รโหคตวรรค 1. ปฐมรโหคตสูตร

8. อนุรุทธสังยุต
1. รโหคตวรรค
หมวดว่าด้วยผู้หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด
1. ปฐมรโหคตสูตร
ว่าด้วยผู้หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด สูตรที่ 1

[899] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด
ได้เกิดความรำพึงขึ้นมาว่า “สติปัฏฐาน 4 ประการอันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
พลาดแล้ว อริยมรรคที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันชนเหล่านั้น
พลาดแล้ว สติปัฏฐาน 4 ประการอันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรค
ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันชนเหล่านั้นปรารภแล้ว”
ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะทราบความรำพึงของท่านพระอนุรุทธะ
ด้วยใจ จึงหายตัวไปปรากฏเฉพาะหน้าของท่านพระอนุรุทธะ เหมือนบุรุษมีกำลัง
เหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น
ทีนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า “ท่าน
อนุรุทธะ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่าปรารภสติปัฏฐาน 4 ประการ”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในกายภายในอยู่ ฯลฯ พิจารณา
เห็นธรรมเป็นเหตุดับในกายภายในอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นทั้งธรรม
เป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในกายภายในอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณา
เห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในกายภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :429 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [8. อนุรุทธสังยุต]
1. รโหคตวรรค 1. ปฐมรโหคตสูตร

ธรรมเป็นเหตุดับในกายภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นทั้งธรรม
เป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในกายภายนอกอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณา
เห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในกายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ ฯลฯ
พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในกายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ ฯลฯ
พิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในกายทั้ง
ภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มี
ความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่
ก็มีความรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูล
อยู่’ ก็มีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งทั้ง 2 นั้น คือ สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่เถิด’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มี
สัมปชัญญะในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลทั้ง 2 นั้นอยู่
2. พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในเวทนาทั้งหลายภายในอยู่ ฯลฯ
พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในเวทนาทั้งหลายภายในอยู่ ฯลฯ
พิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในเวทนา
ทั้งหลายภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดใน
เวทนาทั้งหลายภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุ
ดับในเวทนาทั้งหลายภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นทั้งธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :430 }